วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

การ ปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453

การ ปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453
ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศ ไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475
สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัย รัชกาลที่ 51.สภาพการณ์ทางด้านการเมืองการเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราช ครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้นทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยน นโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อ ไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับ ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตกนอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่าง สิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410
2.สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายใน ราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการ ทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่า กับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลงการขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และ ทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา
3.สภาพการณ์ทางด้านสังคมสังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนา พราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุ ภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่ สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุง ศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิ วัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระ โพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชาคตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์2. พระบรมวงศานุวงศ์พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น3. ขุนนางบุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไปสิทธิ์ตามกฎหมายของขุนนาง มีดังนี้1.ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน และต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย2.ข้าราชการที่มียศต่ำกว่าขุนนาง คือ มีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ จะได้รับเอกสารยกเว้นการสักเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้ไม่ได้รวมไปถึงลูกของข้าราชการ และการได้มาถึงเอกสารดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินให้กับนายของตนเป็นการตอบแทน ด้วย3.ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และถ้ามีคดีขึ้นศาลได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้อีกด้วย4.ก่อน พ.ศ.2367 ขุนนางได้รับการยกเว้นภาษีที่นา ส่วนกฎหมายลักษณะมรดกให้สิทธิ์แก่คนที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปในการแบ่งมรดกเมื่อคนผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว5.ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเกียรติยศ กล่าวคือผู้ใดใช้ถ้อยคำหยาบคายกับผู้ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะถูกลงโทษอย่างหนัก6.ขุนนางสามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน และตามกฎหมายแล้วขุนนางจะไปไหนมาไหนโดยไม่มีคนรับใช้ไม่ได้4. ไพร่คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มี อุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่ง ราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่ง ของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการ เกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูก ปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มี ศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส3.5 ทาสทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง 5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงครามสิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้อง ของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้ เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้นจะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณี ต่อไปนี้1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ4.ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับนายทาส และลูกที่เกิดมาก็พ้นจากความเป็นทาสด้วยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทาสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในตอนปลายรัชกาลที่ 3 คาดว่าผู้ที่เป็นทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้คนที่ตกเป็นทาสก็เพราะมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งพวกชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องเป็นหนี้สินก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวที่ไม่ ได้ผล แต่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน นอกจากนี้ในปลายรัชกาลที่ 3 ยังมีทาสอีกพวกหนึ่ง คือ ทาสเชลย ซึ่งมีอยู่ถึง 46,000 คนในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และโปรดให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อนสร้างที่ต้องใช้เวลาและ แรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นการเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้ถูกยกเลิกไป เพราะทรงเกรงว่า ถ้าเปลี่ยนสถานะของไพร่ให้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานจะทำให้ขุนนางไม่พอใจในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 ทรงประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ โดยทรงพิจารณาว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังทรงประกาศให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว มีสิทธิ์เลือกสามีได้โดยบิดาจะบังคับมิได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปลดปล่อยให้สตรีมีความเป็นอิสระแก่ตนเองมากยิ่ง ขึ้น
4.การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)1.การยกเลิกระบบไพร่1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้อง การแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็น ที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูป กิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวัน ตก1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็น ทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วยต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือน ตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัลพ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการ สักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงาน ให้กับทางราชการพ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้นพ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดัง นั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้น เชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง
2. การเลิกทาส2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้า มาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการ เข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยม ได้3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทาง ด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมี อิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน อนาคต5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย2.2 ขั้นตอนการเลิกทาสการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่ มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบ ครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้(1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม(2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่า ทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411(3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า15ปีลงมาไปขายเป็นทาสจะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5(4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย(5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วยพระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็น ขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญ บางประการ คือ(1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและ ห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก(2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวโดยแท้
2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมา เป็นเวลานาน2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมาก ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น