การปกครองสมัยสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครองของสมัย สุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะ สำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการ ปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความ ปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทย มา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็น อย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไปการ ปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครอง ประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือน หนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความ หมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่ กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตร ในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครอง ในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความ สำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชน ในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดย ยาก
อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย
สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจาก นครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มา ถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึง มีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและ เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงคราม กับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ การที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถ เข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัย วรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทย กลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดา ชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมือง สุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จ หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของ อาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็น อย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้ การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคง ดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมา ไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้ กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบ ความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราช โอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายใน ทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยา ได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลาง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่าย พระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา
สภาพ เศรษฐกิจและสังคม
ลักษณะทางเศรษฐกิจ อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทำเครื่องสังคโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมาเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมี เพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการ เพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอาณาบริเวณ อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน สังคมการเกษตร การเกษตรอาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น2 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำ ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้มีลักษระเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และ เนื่องจากลำน้ำยมและลำน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจากภูเขาทางภาค เหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทันยังผลให้มีน้ำท่วมที่ราบ ลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำการเพาะปลูกได้ดีนี้กลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและทางทิศ ตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนักจากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อควบคุมน้ำที่ไหลบ่ามาจากบริเวณภูเขา และน้ำที่ล้นมาตามลำน้ำต่างๆ ให้ไหลไปตามแนวทางควบคุมบังคับที่ทำไว้หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเก็บกักน้ำไว้ภาย ในหุบเขาแล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการ เพาะปลูกเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือเขื่อนสรีดภงด์ หรือทำนบพระร่วงเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัว เมืองสุโขทัย นอกจากทำนบเก็บกักน้ำแล้วยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนว ยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดัง กล่าวข้างต้นทำให้ผืนดินโดยรอบเมืองสุโขทัยพื้นที่ระหว่าง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกได้ พืชสำคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าวรองลงมา ได้แก่มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมากพลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้น และคงจะไม่อุดมสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจำนวนมาก ๆได้ในด้านรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทำการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ ที่ดินให้แก่ผู้หักร้างถางพงทำการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "สร้างป่าหมากผ่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้..........ใครสร้างได้ไว้แก่มัน""ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายหว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมันช้างขอ ลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น" การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่จะสามารถกักเก็บไว้ ได้นานเพียงไหน และความสามารถในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทางการเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่ บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยง ประชากรในอาณาจักร ด้วยเหตุนี้อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะ ตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอำนาจอยู่เป็นเวลานานได้
ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครองของสมัย สุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะ สำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการ ปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความ ปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทย มา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็น อย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไปการ ปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครอง ประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือน หนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความ หมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่ กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตร ในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครอง ในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความ สำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชน ในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดย ยาก
อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย
สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจาก นครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มา ถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึง มีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและ เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงคราม กับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ การที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถ เข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัย วรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทย กลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดา ชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมือง สุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จ หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของ อาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็น อย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้ การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคง ดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมา ไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้ กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบ ความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราช โอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายใน ทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยา ได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลาง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่าย พระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา
สภาพ เศรษฐกิจและสังคม
ลักษณะทางเศรษฐกิจ อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทำเครื่องสังคโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมาเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมี เพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการ เพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอาณาบริเวณ อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน สังคมการเกษตร การเกษตรอาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น2 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำ ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้มีลักษระเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และ เนื่องจากลำน้ำยมและลำน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจากภูเขาทางภาค เหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทันยังผลให้มีน้ำท่วมที่ราบ ลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำการเพาะปลูกได้ดีนี้กลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและทางทิศ ตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนักจากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อควบคุมน้ำที่ไหลบ่ามาจากบริเวณภูเขา และน้ำที่ล้นมาตามลำน้ำต่างๆ ให้ไหลไปตามแนวทางควบคุมบังคับที่ทำไว้หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเก็บกักน้ำไว้ภาย ในหุบเขาแล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการ เพาะปลูกเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือเขื่อนสรีดภงด์ หรือทำนบพระร่วงเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัว เมืองสุโขทัย นอกจากทำนบเก็บกักน้ำแล้วยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนว ยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดัง กล่าวข้างต้นทำให้ผืนดินโดยรอบเมืองสุโขทัยพื้นที่ระหว่าง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกได้ พืชสำคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าวรองลงมา ได้แก่มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมากพลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้น และคงจะไม่อุดมสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจำนวนมาก ๆได้ในด้านรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทำการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ ที่ดินให้แก่ผู้หักร้างถางพงทำการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "สร้างป่าหมากผ่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้..........ใครสร้างได้ไว้แก่มัน""ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายหว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมันช้างขอ ลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น" การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่จะสามารถกักเก็บไว้ ได้นานเพียงไหน และความสามารถในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทางการเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่ บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยง ประชากรในอาณาจักร ด้วยเหตุนี้อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะ ตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอำนาจอยู่เป็นเวลานานได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น