วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้ การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานีีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ 4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นาการปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี) หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี หัวเมืองประเทศราชเป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช
ด้านเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในสมัยกรุงธนบุรี
1. ปัญหาความอดอยากของราษฎร
2. การค้าระหว่างประเทศ
3. การเก็บภาษีอากร
ปัญหาความอดอยากของราษฎร
ตอนปลายสมัยอยุธยาราษฎรไม่สะดวกในการประกอบอาชีพทำมาหากินไม่มีเวลาในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีศึกสงครามมาตั้งแต่ พ.ศ. 2309 พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ จนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ราษฎรถูกต้อนไปเป็นเชลยจำนวนมาก บางพวกก็หลบหนีภัยสงครามเข้าป่าก็มาก บางพวกก็หนีเข้าไปพึ่งชุมนุมต่าง ๆ หลังจากที่พระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชได้แล้ว ราษฎรเริ่มอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรี โดยการที่พระเจ้าตากสินส่งผู้คนออกไปเกลี้ยกล่อมชักชวนให้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองจะได้เป็นกำลังในการสร้างชาติ ปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาดแคลนอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค พระเจ้าตากสินต้องสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการซื้อข้าวสาร อาหาร เสื้อผ้า แจกราษฎร นอกจากนี้พระเจ้าตากสินยังโปรดให้ทำนานอกฤดูกาลอีกเพื่อให้ได้ข้าวเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการ และสะสมไว้เป็นเสบียงในการยกทัพไปทำสงคราม อาทิ ก่อนยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางทรงมีรับสั่งให้ทำนาปรัง เพื่อเตรียมข้าวสารในการออกรบ
การค้าระหว่างประเทศ
ในระยะแรกพระเจ้าตากสินทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการซื้อข้าวสารแจกราษฎร โดยให้ราคาสูง ทำให้ชาวต่างชาติที่ทราบข่าวก็นำสินค้าเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาขายมีราคาถูกลง ตามหลักเศรษฐศาสตร์เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง เมื่อพ่อค้าชาวต่างชาติทราบว่าสินค้าที่นำเข้ามาขาย ที่กรุงธนบุรี จำหน่ายได้ดีและได้ราคาสูง ชาวต่างชาติก็นำสินค้าลงเรือมาขายยังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก สามารถบรรเทาความอดอยาก และการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค
ประการที่สอง เมื่อราษฎรที่หลบหนีอยู่ตามป่าทราบข่าว ว่าพระเจ้าตากสิน ซื้อข้าวปลาอาหารแจกราษฎร ต่างก็พากันออกจากป่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรีเพิ่มขึ้น จะได้เป็นกำลังของชาติในการรวบรวมอาณาจักรต่อไป
ประการที่สาม เมื่อพ่อค้าแข่งขันกันนำสินค้าเข้ามาขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เกินความต้องการของราษฎร ราคาสินค้าก็ถูกลงตามลำดับความเดือนร้อนของราษฎรก็หมดไป หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ พระเจ้าตากสิน โปรดให้แต่งสำเภา ออกไปค้าขายยังประเทศจีน* เป็นส่วนใหญ่ และยังติดต่อขอซื้อทองแดงจากญี่ปุ่น
การเก็บภาษีอากร
หลังจากที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รายได้ของรัฐ ที่เก็บจากราษฎรยังคงใช้อย่างอยุธยาตอนปลายดังนี้จกอบ หมายถึง ภาษีผ่านด่านเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาขาย อากร หมายถึง ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพทุกชนิดยกเว้นการค้าขาย ฤชา หมายถึง ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรที่ใช้บริการของรัฐเช่นการออกโฉนดที่ดิน ค่าปรับผู้แพ้คดี ส่วย หมายถึง เงิน หรือ สิ่งของที่เก็บแทนการเกณฑ์แรงงานของราษฎรที่ต้องเข้าเวร
ชนชั้นทางสังคม
ชนชั้นทางสังคมในสมัยกรุงธนบุรียังคงเหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนี้
พระมหากษัตริย์และเจ้านาย
ขุนนางหรือข้าราชการ
ไพร่หรือราษฎรหรือสามัญชน
1. เจ้านาย คือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ทุกคนจะเป็นเจ้านายหมด ลูกหลานของพระมหากษัตริย์จะถูกลดสกุลยศตามลำดับ และ ภายใน 5 ชั่วคน ลูกหลานของเจ้านายก็จะกลายเป็นสามัญชน ราชสกุลยศจะมีเพียง 5 ชั้นคือ เจ้าฟ้า เป็นชั้นสูงสุด เจ้าฟ้าคือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติจากอัครมเหสีพระองค์เจ้า คือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติแด่พระสนม หรือเป็นพระโอรส ธิดาของเจ้าฟ้าหม่อมเจ้า คือ พระโอรส ธิดา ของพระองค์เจ้าหม่อมราชวงศ์ คือ บุตรธิดาของหม่อมเจ้าหม่อมหลวง คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์พอถึงชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ก็ถือว่าเป็นสามัญชนแล้วมิได้มีสิทธิพิเศษเช่นเจ้านายชั้นสูงแต่อย่างใดเพื่อเฉลิมพระเกียรติและตอบแทนเจ้านายที่ได้ทำความดีความชอบในราชการ พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งเจ้านายนั้น ๆ ให้ทรงกรม ซึ่งมีลำดับขั้นเหมือนกับยศของขุนนางดังนี้ชั้นสูงสุดคือ กรมพระยา กรมพระ กรมหลวง กรมขุน กรมหมื่น ตามลำดับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ถ้าได้ทรงกรมจะเริ่มตั้งแต่ กรมขุน ขึ้นไป ตั้งแต่พระองค์เจ้าลงมาเมื่อได้ทรงกรม จะต้องเริ่มตั้งแต่ กรมหมื่น สิทธิพิเศษของเจ้านายคือ เมื่อเกิดมีคดี ศาลอื่น ๆ จะตัดสินไม่ได้นอกจากศาลกรมวัง และจะขายเจ้านายลงเป็นทาสไม่ได้ เจ้านายจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานด้วยประการใด ๆ
2. ขุนนาง หรือ ข้าราชการ ยศของขุนนางเรียงลำดับจากขั้นสูงสุดลงไปดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนายพระมหากษัตริย์จะพระราชทานยศและเลื่อนยศ ให้ตามความดีความชอบ นอกจากยศแล้วพระมหากษัตริย์ยังพระราชทานราชทินนามต่อท้ายยศให้ขุนนางด้วย ราชทินนามจะเป็นเครื่องบอกหน้าที่ที่ได้ เช่น เจ้าพระยามหาเสนา พระยาจ่าแสนยากร มักจะเป็นขุนนางฝ่ายทหาร เจ้าพระยาจักรี พระยาธรรมา พระยาพลเทพ พระยาพระคลัง เป็นขุนนางฝ่ายพลเรือน สิทธิพิเศษของขุนนางคือไม่โดยเกณฑ์แรงงานและสิทธินี้ครอบคลุมไปถึงผู้เป็นลูกด้วย ขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป มีสิทธิแต่งตั้งทนายว่าความให้ในศาล ได้เข้าเฝ้า และมีสิทธิ์มีไพร่อยู่ในสังกัดได้
3. ไพร่ หรือ สามัญชน หมายถึง ผู้ชายที่มีอายุ 18 – 60 ปี ชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนจะต้องสักเลก เพื่อสังกัดเจ้านายหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า มูลนาย หากผู้ใดขัดขืน มิยอมสังกัดมูลนาย หรือไปรายงานตัวเป็นไพร่ จะมีโทษและจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เช่นไม่มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินทำกิน จะฟ้องร้องใครไม่ได้ ไพร่มี 3 ประเภทดังนี้3.1 ไพร่สม คือ ชายที่มีอายุ 18 – 20 ปี สังกัดมูลนายที่เป็นเจ้านายและขุนนางเพื่อให้ฝึกหัดใช้งาน3.2 ไพร่หลวง คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี มีหน้าที่รับราชการแผ่นดิน ตามการเกณฑ์แรงงานตามสมัยแต่ถ้ามีลูกเข้าเกณฑ์แรงงานแทนตนถึง 3 คน ก็จะไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้ปลดออกจากราชการได้ก่อนอายุ 60 ปี3.3 ไพร่ส่วย คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี ที่ไม่ประสงค์เข้ารับราชการ โดนเกณฑ์แรงงาน รัฐบาลอนุญาตให้นำเงินหรือสิ่งของมาชำระแทนแรงงานได้ เรียกเงินหรือสิ่งของที่ใช้แทนแรงงานว่า ส่วย หรือเงินค่าราชการ
4. ทาส มีอยู่ 7 ประเภทดังนี้
4.1 ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตัวเองหรือถูกผู้อื่นขายให้แก่นายเงินต้องทำงานจนกว่าจะหาเงินมาไถ่ค่าตัวได้ จึงจะหลุดพ้นเป็นไท
4.2 ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกของทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อ แม่กำลังเป็นทาสอยู่
4.3 ทาสได้มาแต่บิดามารดา คือ ลูกทาสที่ได้จากพ่อหรือแม่ของเด็กที่เป็นทาส
4.4 ทาสท่านให้ คือ ทาสที่เดิมเป็นของผู้หนึ่งแล้วถูกยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของอีกผู้หนึ่ง
4.5 ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑโทษ คือ ผู้ที่ถูกต้องโทษต้องเสียค่าปรับแต่ไม่มีเงินให้ แล้วมีนายเงินเอาเงิน มาใช้แทนให้ ผู้ต้องโทษก็ต้องเป็นทาสของนายเงิน
4.6 ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ในเวลามีภัยธรรมชาติทำให้ข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคน อดอยากไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องอาศัยมูลนายกิน ในที่สุดก็ต้องยอมเป็นทาสของมูลนายนั้น
4.7 ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากการรบทัพจับศึกหรือการทำสงคราม เมื่อได้ชัยชนะจะต้อน ผู้แพ้สงครามมาเป็นทาส
การปกครอง
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้การปกครองส่วนกลางกรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนครกรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐานกรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วยกรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของปรการปกครองส่วนภูมิภาคหัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานีเมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองเมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ
การกอบกู้เอกราช
การกอบกู้เอกราชเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[1] พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย"[2] และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310[3]ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่นต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[4] และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี[5]การรวมชาติและการขยายตัวครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง[6]ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311[7] เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพะรเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรีการสิ้นสุดช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[9] เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็ฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน[10] ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 เจ้าพระยาจักรีจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[11]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น